วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 Assingnment3
ให้ น.ศ. เขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้มา 1 วิชาในสาขาสังคมศึกษา 1 ระบบตามหลัก I P O  .ในแต่ละองค์ประให้นักศึกษาอธิบายแต่ละองค์ประกอบอย่างระเอียด





วิชา หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม


หน้าที่พลเมือง
        พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ คดในข้อ งอในกระดูกนอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
           พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
        สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง

พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
        
 หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น


 Input
1. ครู หรือ อาจารย์ผู้สอน
2.  ผู้เรียน

3.เอกสารประกอบการเรียน 
4. ตำราและหนังสือรายวิชา
หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
5. สื่อประกอบการสอน เช่น Computer  Power point
6. กิจกรรมเสริมระหว่างเรียน




Procses
1.  อธิบายจุดประสงค์ของรายวิชาหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
2.อธิาบายเนื้อหาที่จะให้ผู้เเรียน ได้เรียนในรายวิชานี้ เช่น

            1.พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
            2.กระบวนการทางประชาธิปไตย
            3 .เรียนรู้สิทธิเด็ก
            4.ความแตกต่างทางวัฒนธรรม
            5.การปกครองระบอบประชาธิปไตย
3. แจกเอกสารให้ผู้เรียนได้อ่าน และศึกษา
4. ผู้สอนทำการสอน ในรายวิชา
5. แจกแบบฝึกหัด และแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนได้ทำงานกับเพื่อน หรือแจกแบบทดสอบระหว่างเรียนให้กับผู้เรียน

6.ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนศึกษานอกสถานที่ และเสริมกิจกรรมระหว่างเรียน
7. การสอบวัดผลการเรียนรู้ กลางภาคและปลายภาคของผู้เรียน



Output
1.ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของคำว่า พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
2.ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทางประชาธิปไตย และเรียนรู้สิทธิเด็ก
3.ผู้เรียนได้เรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการปกครองระบอบประชาธิปไต
4.ผู้เรียนสามรถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.ผลการเรียนการสอนของผู้เรียนตามเกณฑ์การประเมิน 1 2 3 4 




  Receive from   
https://sites.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น